การเตรียมตัวในการทำกิจกรรม
1.) จัดหากิจกรรม
2.) เตรียมตัวและปรับอารมณ์ของตนเอง
3.) ยอมรับในความคิดของเด็ก
4.) จัดหาอุปกรณ์
การจัดเตรียมอุปกรณ์
1.) กระดาษทิชชูแผ่นใหญ่
2.) สีผสมอาหารละลายน้ำ 3 สี คือ แดง เหลือง เขียว
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.) เตรียมตัวให้พร้อมที่จะจัดกิจกรรมและเตรียมอุปกรณ์ให้ครบตามที่ต้องการ
2.) อธิบายถึงขั้นตอนและวิธีทำกิจกรรมให้ครบถ้วนและชัดเจน
3.) แจกกระดาษให้เด็กและเริ่มลงมือทำ
4.) เราพยายามหาคำพูดมาพูดกับเด็กเพื่อเป็นการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
5.) พอหลังจากที่เด็กๆทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กๆมาเล่าถึงภาพที่เด็กๆได้ทำ
สรุปผลการจัดกิจกรรม
หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมกับพวกเด็กๆแล้ว ทำให้เราได้รับมุมมองใหม่ๆ เราจะให้เด็กอธิบายถึงภาพที่เด็กได้ลงมือทำ ลงมือจุ่มสี แล้วให้เด็กจินตนาการออกมาว่ามันคือรูปอะไร คล้ายรูปอะไร
วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ทำให้เด็กได้สื่อสารกับเราเป็นคำพูด ท่าทาง จึงทำให้เด็กพัฒนาทางด้านภาษา โดยที่เด็กเองไม่รู้ตัว เพราะจะไม่เครียด และสนุกสนาที่ได้ทำงานศิลปะไปด้วย
วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการต่อจากวัยทารกอยู่ในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ซึ่งนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ต่างให้ความสำคัญกับเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่มากขึ้น ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงรูปแบบการคิดอ่าน การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ซึ่งโดยปกติเด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการที่สำคัญคือ (http://www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/c4.html)
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย เช่น แขนและขาจะยาวออกไป ศีรษะจะได้ขนาดกับลำตัว โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น เริ่มมีทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น รู้จัก การป้อนข้าวเอง แต่งตัวได้เอง ใส่รองเท้าและอาบน้ำได้ด้วยตนเอง ในปลายวัยเด็กตอนต้นฟันแท้จะเริ่มขึ้น 1-2 ซี่
2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด โกรธง่าย ดื้อรั้นเป็นวัยที่เรียกว่าชอบปฏิเสธ และอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเอง เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนและมีเพื่อนเล่น แต่อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กจะมั่นคงเพียงใดขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูเป็นสำคัญ
3. พัฒนาการทางสังคม เริ่มรู้จักการคบเพื่อน เล่นกับเพื่อน ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน รู้จักการร่วมมือ การยอมรับฟัง เริ่มรู้จักการแข่งขันระหว่างกลุ่มเมื่ออายุ 4-5 ขวบ และมักเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน การเล่นกับเพื่อนนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น ไม่รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง
4. พัฒนาการทางภาษา จะเป็นไปทีละขั้น เริ่มใช้ภาษาได้ดีพอสมควร รู้จักศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เรียนรู้คำใหม่ๆมากขึ้น
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการต่อจากวัยทารกอยู่ในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ซึ่งนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ต่างให้ความสำคัญกับเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่มากขึ้น ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงรูปแบบการคิดอ่าน การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ซึ่งโดยปกติเด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการที่สำคัญคือ (http://www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/c4.html)
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย เช่น แขนและขาจะยาวออกไป ศีรษะจะได้ขนาดกับลำตัว โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น เริ่มมีทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น รู้จัก การป้อนข้าวเอง แต่งตัวได้เอง ใส่รองเท้าและอาบน้ำได้ด้วยตนเอง ในปลายวัยเด็กตอนต้นฟันแท้จะเริ่มขึ้น 1-2 ซี่
2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด โกรธง่าย ดื้อรั้นเป็นวัยที่เรียกว่าชอบปฏิเสธ และอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเอง เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนและมีเพื่อนเล่น แต่อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กจะมั่นคงเพียงใดขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูเป็นสำคัญ
3. พัฒนาการทางสังคม เริ่มรู้จักการคบเพื่อน เล่นกับเพื่อน ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน รู้จักการร่วมมือ การยอมรับฟัง เริ่มรู้จักการแข่งขันระหว่างกลุ่มเมื่ออายุ 4-5 ขวบ และมักเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน การเล่นกับเพื่อนนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น ไม่รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง
4. พัฒนาการทางภาษา จะเป็นไปทีละขั้น เริ่มใช้ภาษาได้ดีพอสมควร รู้จักศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เรียนรู้คำใหม่ๆมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)