การเตรียมตัวในการทำกิจกรรม
1.) จัดหากิจกรรม
2.) เตรียมตัวและปรับอารมณ์ของตนเอง
3.) ยอมรับในความคิดของเด็ก
4.) จัดหาอุปกรณ์
การจัดเตรียมอุปกรณ์
1.) กระดาษทิชชูแผ่นใหญ่
2.) สีผสมอาหารละลายน้ำ 3 สี คือ แดง เหลือง เขียว
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.) เตรียมตัวให้พร้อมที่จะจัดกิจกรรมและเตรียมอุปกรณ์ให้ครบตามที่ต้องการ
2.) อธิบายถึงขั้นตอนและวิธีทำกิจกรรมให้ครบถ้วนและชัดเจน
3.) แจกกระดาษให้เด็กและเริ่มลงมือทำ
4.) เราพยายามหาคำพูดมาพูดกับเด็กเพื่อเป็นการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
5.) พอหลังจากที่เด็กๆทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กๆมาเล่าถึงภาพที่เด็กๆได้ทำ
สรุปผลการจัดกิจกรรม
หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมกับพวกเด็กๆแล้ว ทำให้เราได้รับมุมมองใหม่ๆ เราจะให้เด็กอธิบายถึงภาพที่เด็กได้ลงมือทำ ลงมือจุ่มสี แล้วให้เด็กจินตนาการออกมาว่ามันคือรูปอะไร คล้ายรูปอะไร
วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ทำให้เด็กได้สื่อสารกับเราเป็นคำพูด ท่าทาง จึงทำให้เด็กพัฒนาทางด้านภาษา โดยที่เด็กเองไม่รู้ตัว เพราะจะไม่เครียด และสนุกสนาที่ได้ทำงานศิลปะไปด้วย
วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการต่อจากวัยทารกอยู่ในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ซึ่งนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ต่างให้ความสำคัญกับเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่มากขึ้น ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงรูปแบบการคิดอ่าน การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ซึ่งโดยปกติเด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการที่สำคัญคือ (http://www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/c4.html)
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย เช่น แขนและขาจะยาวออกไป ศีรษะจะได้ขนาดกับลำตัว โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น เริ่มมีทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น รู้จัก การป้อนข้าวเอง แต่งตัวได้เอง ใส่รองเท้าและอาบน้ำได้ด้วยตนเอง ในปลายวัยเด็กตอนต้นฟันแท้จะเริ่มขึ้น 1-2 ซี่
2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด โกรธง่าย ดื้อรั้นเป็นวัยที่เรียกว่าชอบปฏิเสธ และอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเอง เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนและมีเพื่อนเล่น แต่อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กจะมั่นคงเพียงใดขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูเป็นสำคัญ
3. พัฒนาการทางสังคม เริ่มรู้จักการคบเพื่อน เล่นกับเพื่อน ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน รู้จักการร่วมมือ การยอมรับฟัง เริ่มรู้จักการแข่งขันระหว่างกลุ่มเมื่ออายุ 4-5 ขวบ และมักเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน การเล่นกับเพื่อนนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น ไม่รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง
4. พัฒนาการทางภาษา จะเป็นไปทีละขั้น เริ่มใช้ภาษาได้ดีพอสมควร รู้จักศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เรียนรู้คำใหม่ๆมากขึ้น
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการต่อจากวัยทารกอยู่ในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ซึ่งนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ต่างให้ความสำคัญกับเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่มากขึ้น ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงรูปแบบการคิดอ่าน การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ซึ่งโดยปกติเด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการที่สำคัญคือ (http://www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/c4.html)
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย เช่น แขนและขาจะยาวออกไป ศีรษะจะได้ขนาดกับลำตัว โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น เริ่มมีทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น รู้จัก การป้อนข้าวเอง แต่งตัวได้เอง ใส่รองเท้าและอาบน้ำได้ด้วยตนเอง ในปลายวัยเด็กตอนต้นฟันแท้จะเริ่มขึ้น 1-2 ซี่
2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด โกรธง่าย ดื้อรั้นเป็นวัยที่เรียกว่าชอบปฏิเสธ และอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเอง เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนและมีเพื่อนเล่น แต่อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กจะมั่นคงเพียงใดขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูเป็นสำคัญ
3. พัฒนาการทางสังคม เริ่มรู้จักการคบเพื่อน เล่นกับเพื่อน ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน รู้จักการร่วมมือ การยอมรับฟัง เริ่มรู้จักการแข่งขันระหว่างกลุ่มเมื่ออายุ 4-5 ขวบ และมักเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน การเล่นกับเพื่อนนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น ไม่รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง
4. พัฒนาการทางภาษา จะเป็นไปทีละขั้น เริ่มใช้ภาษาได้ดีพอสมควร รู้จักศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เรียนรู้คำใหม่ๆมากขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
ธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาของทารกการเรียนรู้ภาษาของเด็กอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งมาดูกันว่าเด็กเรียนรู้ภาษากันอย่างไรและพ่อแม่จะช่วยให้ลูกพัฒนาภาษาได้อย่างไรบ้าง
หนูน้องเพจ อาร์ไบเตอร์ คลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนักแรกเกิดเพียง 1 กิโลกว่าๆ เท่านั้น เธอได้รับฉายาว่า “ฮูดินีน้อย” เพราะในเวลาเพียงหนึ่งวันครึ่งหลังจากเกิด หนูน้อยดึงสายช่วยหายใจออกจากปากตัวเองและหายใจเองได้ ขณะนอนในตู้อบเธอยังสามารถดิ้นไปดิ้นมาจนขาโผล่ออกมานอกประตูตู้อบ หลังจากกลับบ้านได้ 6 อาทิตย์ พ่อแม่สังเกตว่าหนูน้อยไม่มีอาการแสดงการรับรู้เสียงดังๆ เลย ในตอนนั้น หมอบอกกับพ่อแม่ของเพจว่าไม่เป็นเรื่องน่าวิตกกังวล ต่อมาเมื่อเพจอายุได้ 10 อาทิตย์ พ่อแม่พาเพจไปทดสอบการได้ยิน จึงค้นพบว่าหูทั้งสองข้างของหนูน้อยแทบจะหนวกเลยทีเดียว หลายคนบอกกับพ่อแม่ของเพจว่าไม่ต้องห่วงเพราะพวกเขาได้ทราบปัญหาตั้งแต่ลูกยังเล็ก ทำให้รักษาได้ทันและจะไม่มีผลกระทบกับพัฒนาการของเด็กในระยะยาวแต่ในความเป็นจริงแล้ว หนูน้อยเพจได้พลาดช่วงของการพัฒนาทางการพูดและภาษาที่สำคัญมากในตอนนี้ด้วยเครื่องช่วยฟังและการรักษาบำบัดทางการพูด เพจอายุ 6 ขวบ สามารถนับหนึ่งถึงสิบได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถทางภาษาของเธอเปรียบได้กับเด็กอายุ 2 ขวบเท่านั้นความสามารถในการเรียนรู้ภาษาเป็นความสามารถที่อัศจรรย์ แต่จากกรณีของหนูน้อยเพจ พัฒนาการในการเรียนรู้ภาษานั้นไม่ราบรื่นเสมอไปสำหรับเด็กทุกคนเด็กเรียนภาษาอย่างไรความสามารถในการเรียนรู้ภาษาเป็นความสามารถที่อัศจรรย์มากสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถของเด็กทารกในการเรียนภาษา เด็กทารกสามารถเชื่อมโยงความหมายกับคำได้ตั้งแต่ยังใส่ผ้าอ้อมอยู่ สามารถเรียนรู้หลักไวยากรณ์ภาษาได้ก่อนที่จะใช้ส้อมเป็นและเด็กอายุ 3 ขวบ สามารถสร้างประโยคของตนเองจากคำศัพท์ต่างๆ ที่เขารู้ได้การเรียนรู้ภาษาของเด็กเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด แม่ๆ หลายคนสังเกตได้ว่าเด็กจะมีการดิ้นที่รุนแรงขึ้นเมื่อได้ยินเสียงเพลงหรือเสียงดัง เมื่ออายุได้ 6-12 เดือน เด็กทารกจะชอบออกเสียง อะ อา มะ มา พา พา โดยไม่มีความหมาย แม้ว่าเด็กจะยังไม่รู้ความหมายของคำต่างๆ ที่ออกเสียงแต่การออกเสียงเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการฝึกพูดเสียงต่างๆ ที่จะเป็นส่วนประกอบของคำพูดที่เขาจะพูดดังต่อไปเมื่ออายุครบ 1 ปี เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้คำศัพท์เรียกของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาโดยใช้สมมติฐานที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate biases) โดยใช้สมมติฐานว่าคำศัพท์เรียกของสิ่งๆ หนึ่งนั้นโดยรวมไม่ใช้ชิ้นส่วนย่อยในตัวมัน (หมาหมายถึงหมา ไม่ใช้หางของมัน) และคำศัพท์เรียกของสิ่งๆ หนึ่งหมายความรวมถึงสิ่งของในประเภทนั้นทั้งหมดไม่ใช่ชื่อเฉพาะ (หมาหมายถึงหมาทั้งหมดไม่ใช่หมาตัวเดียวที่เคยเห็น) และคำศัพท์เพียงคำเดียวก็เพียงพอสำหรับสิ่งของประเภทหนึ่งๆ (ถ้าเป็นหมา ไม่ได้เป็นวัว)นอกจากจะเชื่อมโยงคำกับความหมายแล้ว การศึกษาของแกรี่ มาร์คัส นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กค้นพบว่า เด็กยังทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์โดยศึกษาจากแบบแผนของภาษาที่เขาได้ยิน ที่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมเด็กอายุ 3 ขวบ จึงสามารถผูกประโยคของตนเองขึ้นมาได้จากคำศัพท์ต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ได้ความผิดปกติของการพัฒนาการทางภาษาความสามารถในการเรียนรู้ภาษานั้นไม่ราบรื่นสำหรับเด็กทุกคน ปัญหาที่มีตั้งแต่กำเนิด อาทิ ออทิสซึ่ม ปัญหาการได้ยิน สมองผิดปกติทำให้การเรียนรู้ภาษาไม่เป็นไปตามปกติอย่างไรก็ตามปัญหาการเรียนรู้ภาษาสามารถป้องกันได้ เช่น ถ้าปัญหาการได้ยินได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วง 6 เดือนแรก เด็กสามารถมีพัฒนาการทางภาษาที่ปกติในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาการเรียนที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษานั้นเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก การล่าช้าเพียงเล็กน้อยอาจมีผลกระทบอย่างมากในระยะยาวคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเพื่อติดตามว่าลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่เหมาะสมกับวัยหรือไม่ด้วยการสังเกตพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย
เด็กที่อาจมีปัญหาในการพัฒนาการด้านภาษา หากมีพฤติกรรมดังกล่าว :0-12 เดือน : ไม่ตอบรับกับเสียงหรือไม่ออกเสียงใดๆ12-24 เดือน :อายุ 12 เดือน ไม่ใช้ท่าทาง เช่น โบกมือลา หรือยกมือไหว้อายุ 18 เดือน ชอบใช้ท่าทางในการสื่อสารมากกว่าการพูดอายุ 24 เดือน ไม่สามารถพูดเลียนเสียงต่างๆ ได้เด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรได้รับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเด็กมีการพัฒนาการดังนี้เลียนแบบการพูดหรือการกระทำได้แต่ไม่สามารถพูดเป็นคำหรือวลีได้เองพูดเสียงหรือคำซ้ำๆ และใช้ภาษาพูดได้เพียงการสื่อสารความต้องการของเขาเท่านั้นไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้มีลักษณะเสียงผิดปกติ เช่น เสียงแหบหรือเสียงขึ้นจมูกการพูดยากที่จะเข้าใจ ในเกณฑ์ปกติเด็กอายุ 2 ขวบ พ่อแม่ และพี่เลี้ยงควรจะสามารถเข้าใจประมาณ 50% ของการพูดสื่อสารของเขา อายุ 3 ปี ประมาณ 75% และเมื่อเด็กอายุ 4 ปีเกือบ 100% รวมทั้งคนแปลกหน้าก็ควรจะเข้าใจเด็กด้วยอะไรเป็นสาเหตุของการล่าช้าของการพัฒนาทางภาษาเด็กจำนวนมากที่การพัฒนาการด้านภาษาช้ามีปัญหาการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพของสมองส่วนที่รับผิดชอบการออกเสียงพูด เด็กมีปัญหาในการใช้ริมฝีปาก ลิ้นและขากรรไกรในการออกเสียงพูดการพูดอาจเป็นปัญหาอย่างเดียวหรือเด็กอาจมีปัยหาในการกินอาหารด้วยปัญหาในการได้ยินเป็นอีกปัญหาที่พบได้มากในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษา
ดังนั้นเด็กที่มีปัยหาด้านภาษาควรได้รับการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน (audiologist) เด็กที่มีปัญหาด้านการได้ยินจะมีปัญหาในการเข้าใจการเลียนแบบ การพูดและการใช้ภาษาหูอักเสบ โดยเฉพาะหูอักเสบเรื้อรัง มีผลต่อความสามารถในการได้ยิน หูอักเสบที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการได้ยินปัญหาทางภาษาสามารถแก้ไขได้ถ้าค้นพบได้เร็ว และถ้าพ่อแม่ทราบสาเหตุของปัญหาของการพัฒนาทางภาษา ก็จะสามารถเรียนรู้วิธีที่จะกระตุ้นพัฒนาการของเขาได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่พ่อแม่ต้องเฝ้าสังเกตพัฒนาการของลูกอย่างเอาใจใส่และใกล้ชิดกิจกรรมในกระตุ้นพัฒนาการทางด้านภาษาเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่นๆ การพัฒนาด้านภาษาได้รับอิทธิพลจากทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและทางสภาพแวดล้อมกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดพัฒนาการของเด็กในด้านภาษา และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา กิจกรรมง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำกับลูกได้เพื่อเสริมพัฒนาการด้านภาษา คือแรกเกิดถึง 2 ปีกระตุ้นให้ลูกออกเสียงง่ายๆ เช่น มะ มา ดา บาเน้นการกระตุ้นโดยการมองตาลูกตลอดเวลาที่คุยกับลูก ตอบรับการพูดของลูกด้วยการชมเชยและเลียนเสียงคำพูดของลูก เน้นการพูดเสียงสูงต่ำระดับต่างๆ เช่น ขึ้นเสียงสูงเมื่อถามคำถามเลียนเสียงหัวเราะและสีหน้าท่าทางของลูกสอนให้ลูกเลียนแบบท่าทางของพ่อแม่ เช่น ปรบมือ ส่งจูบ ยกมือไหว้ เล่นเกมตบแปะ ร้องเพลงจับปูดำ เพลงแมงมุมคุยกับลูกในขณะที่อาบน้ำ ป้อนข้าว แต่งตัว ทำตัวเป็นคุณแม่นักพากษ์ อธิบายว่าแม่กำลังทำอะไรอยู่ และจะทำอะไรต่อไป จะไปไหน จะทำอะไร จะเจอใครให้ลูกเรียนรู้สีต่างๆให้ลูกหัดนับเลขใช้ท่าทางสื่อความหมาย เช่น โบกมือลา ยกมือไหว้สอนลูกเกี่ยวกับเสียงต่างๆ เพื่อฝึกให้ลูกได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเสียงกับความหมาย เช่น หมาเห่าโฮ่ง โฮ่ง นกร้อง จิ๊บ จิ๊บตอบรับเมื่อลูกพยายามสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่เมื่อลูกพูด เพิ่มคำให้กับสิ่งที่ลูกพูด เช่น ลูกพูด ว่า ไป ไป ถามต่อว่าไปไหน ไปข้างล่าง ?อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เลือกหนังสือที่ทนมือ มีรูปภาพใหญ่สีสันสดใส ไม่มีรายละเอียดมากเกินไป ให้ลูกช่วยอ่านโดยการให้ลุกบอกชื่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในหนังสือที่เขารู้ เช่น ชี้รูปสัตว์ต่างๆ ให้เขาช่วยบอกชื่อ2-4 ปีใช้ภาษาการพูดที่ถูกต้อง ชัดเจนและง่ายสำหรับเด็กพูดตามพูดตามที่ลูกพูดและแสดงว่าพ่อแม่เข้าใจที่เขาพูด เช่น ถ้าลูกพูดว่าต้องการน้ำ อาจพูดเสริมว่าน้ำอะไร น้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ใช้คำศัพท์เด็กเฉพาะเวลาต้องการสื่อสารสิ่งที่สำคัญ โดนพูดเสริมคำพูดปกติเพื่อให้เด็กรู้คำพูดที่เหมาะสม เช่น ถึงเวลาหม่ำ หม่ำแล้ว ถึงเวลากินข้าวกันแล้วค่ะฝึกให้ลูกเข้าใจการถามตอบ โดยการเล่นเกมตอบคำถามใช่ไม่ใช่ เช่น ถามคำถาม หนูเป็นเด็กผู้ชายหรือเปล่า หนูชื่อปันหรือเปล่า หมูบินได้ใช่ไหม และลองให้เด็กหัดตั้งคำถามบ้าง หรือถามคำถามที่ต้องเลือก เช่น อยากกินข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว อยากใส่เสื้อสีขาวหรือแดงเพิ่มคำศัพท์ให้ลูก ด้วยการเล่นเกมบอกชื่อของอวัยวะต่างๆ ในตัวร้องเพลงที่มีเนื้อเพลงง่ายๆ และคล้องจอง เช่น จับปูดำขย้ำปูนาหรือ ดอกสร้อยสุภาษิตต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และแบบแผนของภาษาให้เด็กดูรูปครอบครัวคนรู้จัก และบอกชื่อคนหรือเล่าเรื่องเกี่ยวกับคนๆ นั้น4-6 ปีเมื่อลุกพูดให้ความสนใจกับการพูดของเขาอย่างเต็มที่ก่อนที่จะพูดกับลูกต้องให้แน่ใจว่าพ่อแม่ได้รับความสนใจจากเขากระตุ้น และชมเชยเมื่อลูกพยายามพูดสิ่งที่เขาต้องการ แสดงให้เขาเห็นว่าพ่อแม่เข้าใจสิ่งที่พูดโดยการทำตามสิ่งที่เขาขอ (ถ้าเป็นไปได้)หยุดพูดหลังจากการพูดแต่ละประโยคเพื่อให้โอกาสลูกในการร่วมการสนทนากับพ่อแม่สอนคำศัพท์ใหม่ๆ ให้ตลอดเวลา บอกคำศัพท์และบอกความหมาย เช่น แม่คิดว่าแม่จะขับยานพาหนะไปซื้อของ แม่เหนื่อยเกินกว่าจะเดินไปสอนเด็กเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางมิติ (spatial relationships) อันแรก อันกลาง อันสุดท้าย ซ้าย ขวา และคำศัพท์ที่ตรงกันข้ามกัน บนและล่าง เปิดและปิด มืดและสว่างบอกคำใบ้ให้ลูกทายคำ เราใช้มันถูบ้าน (ไม้กวาด) มันเย็น และแข้งเราใช้ใส่ในน้ำทำให้เย็น (น้ำแข็ง)ให้คำสั่ง 2-3 ขั้นตอน เช่น ไปที่ห้อง และเอาหนังสือ ไปเก็บในกระเป๋าเดินทางฝึกให้เด็กบอกวิธีทำสิ่งของต่างๆ เช่น วิธีปั้นดินน้ำมัน วิธีชงนมเวลาซื้อของในร้าน คุยกับลูกว่าจะซื้ออะไรบ้างจำนวนเท่าไร จะทำอะไรเป็นอาหารเย็น พูดถึงลักษณะของที่ซื้อ ขนาด (ใหญ่หรือเล็ก) รูปทรง (กลม สี่เหลี่ยม) น้ำหนัก (เบาหรือหนัก)คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ดูนะคะ ในที่สุดแล้วการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่ของพ่อแม่เป็นวัคซีนป้องกันสิ่งผิดปกติต่างๆ ให้ลูกได้ดีที่สุดนั่นเองค่ะ
หนูน้องเพจ อาร์ไบเตอร์ คลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนักแรกเกิดเพียง 1 กิโลกว่าๆ เท่านั้น เธอได้รับฉายาว่า “ฮูดินีน้อย” เพราะในเวลาเพียงหนึ่งวันครึ่งหลังจากเกิด หนูน้อยดึงสายช่วยหายใจออกจากปากตัวเองและหายใจเองได้ ขณะนอนในตู้อบเธอยังสามารถดิ้นไปดิ้นมาจนขาโผล่ออกมานอกประตูตู้อบ หลังจากกลับบ้านได้ 6 อาทิตย์ พ่อแม่สังเกตว่าหนูน้อยไม่มีอาการแสดงการรับรู้เสียงดังๆ เลย ในตอนนั้น หมอบอกกับพ่อแม่ของเพจว่าไม่เป็นเรื่องน่าวิตกกังวล ต่อมาเมื่อเพจอายุได้ 10 อาทิตย์ พ่อแม่พาเพจไปทดสอบการได้ยิน จึงค้นพบว่าหูทั้งสองข้างของหนูน้อยแทบจะหนวกเลยทีเดียว หลายคนบอกกับพ่อแม่ของเพจว่าไม่ต้องห่วงเพราะพวกเขาได้ทราบปัญหาตั้งแต่ลูกยังเล็ก ทำให้รักษาได้ทันและจะไม่มีผลกระทบกับพัฒนาการของเด็กในระยะยาวแต่ในความเป็นจริงแล้ว หนูน้อยเพจได้พลาดช่วงของการพัฒนาทางการพูดและภาษาที่สำคัญมากในตอนนี้ด้วยเครื่องช่วยฟังและการรักษาบำบัดทางการพูด เพจอายุ 6 ขวบ สามารถนับหนึ่งถึงสิบได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถทางภาษาของเธอเปรียบได้กับเด็กอายุ 2 ขวบเท่านั้นความสามารถในการเรียนรู้ภาษาเป็นความสามารถที่อัศจรรย์ แต่จากกรณีของหนูน้อยเพจ พัฒนาการในการเรียนรู้ภาษานั้นไม่ราบรื่นเสมอไปสำหรับเด็กทุกคนเด็กเรียนภาษาอย่างไรความสามารถในการเรียนรู้ภาษาเป็นความสามารถที่อัศจรรย์มากสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถของเด็กทารกในการเรียนภาษา เด็กทารกสามารถเชื่อมโยงความหมายกับคำได้ตั้งแต่ยังใส่ผ้าอ้อมอยู่ สามารถเรียนรู้หลักไวยากรณ์ภาษาได้ก่อนที่จะใช้ส้อมเป็นและเด็กอายุ 3 ขวบ สามารถสร้างประโยคของตนเองจากคำศัพท์ต่างๆ ที่เขารู้ได้การเรียนรู้ภาษาของเด็กเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด แม่ๆ หลายคนสังเกตได้ว่าเด็กจะมีการดิ้นที่รุนแรงขึ้นเมื่อได้ยินเสียงเพลงหรือเสียงดัง เมื่ออายุได้ 6-12 เดือน เด็กทารกจะชอบออกเสียง อะ อา มะ มา พา พา โดยไม่มีความหมาย แม้ว่าเด็กจะยังไม่รู้ความหมายของคำต่างๆ ที่ออกเสียงแต่การออกเสียงเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการฝึกพูดเสียงต่างๆ ที่จะเป็นส่วนประกอบของคำพูดที่เขาจะพูดดังต่อไปเมื่ออายุครบ 1 ปี เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้คำศัพท์เรียกของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาโดยใช้สมมติฐานที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate biases) โดยใช้สมมติฐานว่าคำศัพท์เรียกของสิ่งๆ หนึ่งนั้นโดยรวมไม่ใช้ชิ้นส่วนย่อยในตัวมัน (หมาหมายถึงหมา ไม่ใช้หางของมัน) และคำศัพท์เรียกของสิ่งๆ หนึ่งหมายความรวมถึงสิ่งของในประเภทนั้นทั้งหมดไม่ใช่ชื่อเฉพาะ (หมาหมายถึงหมาทั้งหมดไม่ใช่หมาตัวเดียวที่เคยเห็น) และคำศัพท์เพียงคำเดียวก็เพียงพอสำหรับสิ่งของประเภทหนึ่งๆ (ถ้าเป็นหมา ไม่ได้เป็นวัว)นอกจากจะเชื่อมโยงคำกับความหมายแล้ว การศึกษาของแกรี่ มาร์คัส นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กค้นพบว่า เด็กยังทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์โดยศึกษาจากแบบแผนของภาษาที่เขาได้ยิน ที่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมเด็กอายุ 3 ขวบ จึงสามารถผูกประโยคของตนเองขึ้นมาได้จากคำศัพท์ต่างๆ ที่เขาเรียนรู้ได้ความผิดปกติของการพัฒนาการทางภาษาความสามารถในการเรียนรู้ภาษานั้นไม่ราบรื่นสำหรับเด็กทุกคน ปัญหาที่มีตั้งแต่กำเนิด อาทิ ออทิสซึ่ม ปัญหาการได้ยิน สมองผิดปกติทำให้การเรียนรู้ภาษาไม่เป็นไปตามปกติอย่างไรก็ตามปัญหาการเรียนรู้ภาษาสามารถป้องกันได้ เช่น ถ้าปัญหาการได้ยินได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วง 6 เดือนแรก เด็กสามารถมีพัฒนาการทางภาษาที่ปกติในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาการเรียนที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษานั้นเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก การล่าช้าเพียงเล็กน้อยอาจมีผลกระทบอย่างมากในระยะยาวคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเพื่อติดตามว่าลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่เหมาะสมกับวัยหรือไม่ด้วยการสังเกตพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย
เด็กที่อาจมีปัญหาในการพัฒนาการด้านภาษา หากมีพฤติกรรมดังกล่าว :0-12 เดือน : ไม่ตอบรับกับเสียงหรือไม่ออกเสียงใดๆ12-24 เดือน :อายุ 12 เดือน ไม่ใช้ท่าทาง เช่น โบกมือลา หรือยกมือไหว้อายุ 18 เดือน ชอบใช้ท่าทางในการสื่อสารมากกว่าการพูดอายุ 24 เดือน ไม่สามารถพูดเลียนเสียงต่างๆ ได้เด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรได้รับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเด็กมีการพัฒนาการดังนี้เลียนแบบการพูดหรือการกระทำได้แต่ไม่สามารถพูดเป็นคำหรือวลีได้เองพูดเสียงหรือคำซ้ำๆ และใช้ภาษาพูดได้เพียงการสื่อสารความต้องการของเขาเท่านั้นไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้มีลักษณะเสียงผิดปกติ เช่น เสียงแหบหรือเสียงขึ้นจมูกการพูดยากที่จะเข้าใจ ในเกณฑ์ปกติเด็กอายุ 2 ขวบ พ่อแม่ และพี่เลี้ยงควรจะสามารถเข้าใจประมาณ 50% ของการพูดสื่อสารของเขา อายุ 3 ปี ประมาณ 75% และเมื่อเด็กอายุ 4 ปีเกือบ 100% รวมทั้งคนแปลกหน้าก็ควรจะเข้าใจเด็กด้วยอะไรเป็นสาเหตุของการล่าช้าของการพัฒนาทางภาษาเด็กจำนวนมากที่การพัฒนาการด้านภาษาช้ามีปัญหาการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพของสมองส่วนที่รับผิดชอบการออกเสียงพูด เด็กมีปัญหาในการใช้ริมฝีปาก ลิ้นและขากรรไกรในการออกเสียงพูดการพูดอาจเป็นปัญหาอย่างเดียวหรือเด็กอาจมีปัยหาในการกินอาหารด้วยปัญหาในการได้ยินเป็นอีกปัญหาที่พบได้มากในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษา
ดังนั้นเด็กที่มีปัยหาด้านภาษาควรได้รับการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน (audiologist) เด็กที่มีปัญหาด้านการได้ยินจะมีปัญหาในการเข้าใจการเลียนแบบ การพูดและการใช้ภาษาหูอักเสบ โดยเฉพาะหูอักเสบเรื้อรัง มีผลต่อความสามารถในการได้ยิน หูอักเสบที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการได้ยินปัญหาทางภาษาสามารถแก้ไขได้ถ้าค้นพบได้เร็ว และถ้าพ่อแม่ทราบสาเหตุของปัญหาของการพัฒนาทางภาษา ก็จะสามารถเรียนรู้วิธีที่จะกระตุ้นพัฒนาการของเขาได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่พ่อแม่ต้องเฝ้าสังเกตพัฒนาการของลูกอย่างเอาใจใส่และใกล้ชิดกิจกรรมในกระตุ้นพัฒนาการทางด้านภาษาเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่นๆ การพัฒนาด้านภาษาได้รับอิทธิพลจากทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและทางสภาพแวดล้อมกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดพัฒนาการของเด็กในด้านภาษา และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา กิจกรรมง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำกับลูกได้เพื่อเสริมพัฒนาการด้านภาษา คือแรกเกิดถึง 2 ปีกระตุ้นให้ลูกออกเสียงง่ายๆ เช่น มะ มา ดา บาเน้นการกระตุ้นโดยการมองตาลูกตลอดเวลาที่คุยกับลูก ตอบรับการพูดของลูกด้วยการชมเชยและเลียนเสียงคำพูดของลูก เน้นการพูดเสียงสูงต่ำระดับต่างๆ เช่น ขึ้นเสียงสูงเมื่อถามคำถามเลียนเสียงหัวเราะและสีหน้าท่าทางของลูกสอนให้ลูกเลียนแบบท่าทางของพ่อแม่ เช่น ปรบมือ ส่งจูบ ยกมือไหว้ เล่นเกมตบแปะ ร้องเพลงจับปูดำ เพลงแมงมุมคุยกับลูกในขณะที่อาบน้ำ ป้อนข้าว แต่งตัว ทำตัวเป็นคุณแม่นักพากษ์ อธิบายว่าแม่กำลังทำอะไรอยู่ และจะทำอะไรต่อไป จะไปไหน จะทำอะไร จะเจอใครให้ลูกเรียนรู้สีต่างๆให้ลูกหัดนับเลขใช้ท่าทางสื่อความหมาย เช่น โบกมือลา ยกมือไหว้สอนลูกเกี่ยวกับเสียงต่างๆ เพื่อฝึกให้ลูกได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเสียงกับความหมาย เช่น หมาเห่าโฮ่ง โฮ่ง นกร้อง จิ๊บ จิ๊บตอบรับเมื่อลูกพยายามสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่เมื่อลูกพูด เพิ่มคำให้กับสิ่งที่ลูกพูด เช่น ลูกพูด ว่า ไป ไป ถามต่อว่าไปไหน ไปข้างล่าง ?อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เลือกหนังสือที่ทนมือ มีรูปภาพใหญ่สีสันสดใส ไม่มีรายละเอียดมากเกินไป ให้ลูกช่วยอ่านโดยการให้ลุกบอกชื่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในหนังสือที่เขารู้ เช่น ชี้รูปสัตว์ต่างๆ ให้เขาช่วยบอกชื่อ2-4 ปีใช้ภาษาการพูดที่ถูกต้อง ชัดเจนและง่ายสำหรับเด็กพูดตามพูดตามที่ลูกพูดและแสดงว่าพ่อแม่เข้าใจที่เขาพูด เช่น ถ้าลูกพูดว่าต้องการน้ำ อาจพูดเสริมว่าน้ำอะไร น้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ใช้คำศัพท์เด็กเฉพาะเวลาต้องการสื่อสารสิ่งที่สำคัญ โดนพูดเสริมคำพูดปกติเพื่อให้เด็กรู้คำพูดที่เหมาะสม เช่น ถึงเวลาหม่ำ หม่ำแล้ว ถึงเวลากินข้าวกันแล้วค่ะฝึกให้ลูกเข้าใจการถามตอบ โดยการเล่นเกมตอบคำถามใช่ไม่ใช่ เช่น ถามคำถาม หนูเป็นเด็กผู้ชายหรือเปล่า หนูชื่อปันหรือเปล่า หมูบินได้ใช่ไหม และลองให้เด็กหัดตั้งคำถามบ้าง หรือถามคำถามที่ต้องเลือก เช่น อยากกินข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว อยากใส่เสื้อสีขาวหรือแดงเพิ่มคำศัพท์ให้ลูก ด้วยการเล่นเกมบอกชื่อของอวัยวะต่างๆ ในตัวร้องเพลงที่มีเนื้อเพลงง่ายๆ และคล้องจอง เช่น จับปูดำขย้ำปูนาหรือ ดอกสร้อยสุภาษิตต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และแบบแผนของภาษาให้เด็กดูรูปครอบครัวคนรู้จัก และบอกชื่อคนหรือเล่าเรื่องเกี่ยวกับคนๆ นั้น4-6 ปีเมื่อลุกพูดให้ความสนใจกับการพูดของเขาอย่างเต็มที่ก่อนที่จะพูดกับลูกต้องให้แน่ใจว่าพ่อแม่ได้รับความสนใจจากเขากระตุ้น และชมเชยเมื่อลูกพยายามพูดสิ่งที่เขาต้องการ แสดงให้เขาเห็นว่าพ่อแม่เข้าใจสิ่งที่พูดโดยการทำตามสิ่งที่เขาขอ (ถ้าเป็นไปได้)หยุดพูดหลังจากการพูดแต่ละประโยคเพื่อให้โอกาสลูกในการร่วมการสนทนากับพ่อแม่สอนคำศัพท์ใหม่ๆ ให้ตลอดเวลา บอกคำศัพท์และบอกความหมาย เช่น แม่คิดว่าแม่จะขับยานพาหนะไปซื้อของ แม่เหนื่อยเกินกว่าจะเดินไปสอนเด็กเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางมิติ (spatial relationships) อันแรก อันกลาง อันสุดท้าย ซ้าย ขวา และคำศัพท์ที่ตรงกันข้ามกัน บนและล่าง เปิดและปิด มืดและสว่างบอกคำใบ้ให้ลูกทายคำ เราใช้มันถูบ้าน (ไม้กวาด) มันเย็น และแข้งเราใช้ใส่ในน้ำทำให้เย็น (น้ำแข็ง)ให้คำสั่ง 2-3 ขั้นตอน เช่น ไปที่ห้อง และเอาหนังสือ ไปเก็บในกระเป๋าเดินทางฝึกให้เด็กบอกวิธีทำสิ่งของต่างๆ เช่น วิธีปั้นดินน้ำมัน วิธีชงนมเวลาซื้อของในร้าน คุยกับลูกว่าจะซื้ออะไรบ้างจำนวนเท่าไร จะทำอะไรเป็นอาหารเย็น พูดถึงลักษณะของที่ซื้อ ขนาด (ใหญ่หรือเล็ก) รูปทรง (กลม สี่เหลี่ยม) น้ำหนัก (เบาหรือหนัก)คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ดูนะคะ ในที่สุดแล้วการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่ของพ่อแม่เป็นวัคซีนป้องกันสิ่งผิดปกติต่างๆ ให้ลูกได้ดีที่สุดนั่นเองค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)